ประวัติรถเมล์สยาม(ต่อ)

20:56 Unknown 0 Comments

         นปี 2450 หรือ 102 ปีที่ผ่านมา พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร)   ผู้เป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบ   รถโดยสารสาธารณะของประเทศไทย ได้รื้อกิจการรถเมล์ประจำทางขึ้นมาอีกครั้ง โดยให้บริการจากสะพานยศเส (กษัตริย์ศึก) ถึงประตูน้ำสระปทุม ซึ่งเป็นเส้นทางที่รถรางไม่ได้วิ่งผ่าน ทำให้กิจการพอไปได้ แต่รถที่ใช้ก็ยังเป็นม้าลากจูง


           ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เริ่มมีรถยนต์จากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น พระยาภักดีฯ จึงได้ปรับปรุงกิจการใหม่ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินรถ โดยนำรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดมาวิ่งแทนรถเดิม ในการเดินทางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย รถเมล์จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง ออกไปทั่วกรุงเทพฯ ในนามของบริษัท นายเลิศ จำกัดหรือบริษัทรถเมล์ขาว การประกอบอาชีพการเดินรถ โดยสารประจำทางได้ขยายตัวขึ้น เมื่อรัฐบาลมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี (พ.ศ. 2475) พร้อมทั้งได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งพระนคร และธนบุรี



                เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 โดยรวมกิจการรถโดยสารทั้งหมด จากบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด มาขึ้นอยู่กับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ  ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และนครปฐม มีผู้ใช้บริการ ประมาณกว่า 3 ล้านคนต่อวัน



                  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ ในด้านประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับ การประกอบการขนส่งบุคคล เนื่องจากกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง จัดเป็นสาธารณูปโภค ชนิดหนึ่งของรัฐที่ให้บริการแก่ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย และปานกลางเป็นหลัก การดำเนินการ จึงมุ่งสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในด้านการให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยไม่หวังผลกำไร การจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร จึงอยู่ในอัตราต่ำกว่าต้นทุน ตามที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย การให้บริการของ ขสมก. มุ่งในด้านความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินรถของ ผู้โดยสารเป็นหลัก




http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/banjongluk/banjongluk-web2/content/topic15.htm

0 ความคิดเห็น: